Week3

วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

1. วิธีการสอนแบบแก้ปัญหา (Problem-Solving Method)
        วิธีสอนนี้ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) เป็นผู้คิดค้นขึ้นมา หลักใหญ่อาศัยวิธีการสอนที่ใช้ แก้ปัญหาของนักเรียน โดยครูเป็นผู้ชี้แนะเท่านั้น วิธีการแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) ทุกประการคือ
        - กําหนดขอบเขตของปัญหา (Location of Problem)
        - ตั้งสมมติฐาน (Setting up of Hypothesis)
        - ทดลองและรวบรวมข้อมูล (Experimenting and Gathering of Data)
        - วิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of Data)
        - สรุป (Conclusion) 

2. วิธีการสอนแบบแสดงบทบาท (Role Playing)
        วิธีการสอนแบบแสดงบทบาท เป็นการสอนที่กําหนดให้ผู้เรียน แสดงบทบาทตาม สมมติขึ้นเทียบเคียงกับสภาพที่เป็นจริงหรือแสดงออกตามแนวที่คิดว่าควรจะเป็น เพื่อให้ผู้ดูเกิด ความรู้ ความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นการแสดงบทบาทสมมติจะช่วยให้เกิดความสนใจ ฝึกความกล้า ที่จะแสดงออก เป็นการผ่อนคลายอารมณ์ตรึงเครียดของเด็ก การแสดงบทบาทสมมติต่างจากเกม จําลองสถานการณ์ ศรงที่ไม่มีเกณฑ์และการแข่งขัน

3. วิธีการสอนแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)
        วิธีการสอนแบบวิทยาศาสตร์ เป็นการสอนโดยนําหลักการทางวิทยาศาสตร์มาใช้เป็น โอกาสให้นักเรียนได้ค้นพบปัญหาและวิธีการแก้ไขด้วยกระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้น 25 สอนแบบวิทยาศาสตร์ เหมาะสําหรับ การศึกษา ค้นคว้า ทดลอง แบบง่ายๆ ซึ่งจะต้องจัดเนื้อหาให้ เหมาะสมกับวัย และระดับความสามารถของผู้เรียนจึงจะบังเกิดผลดี

4. วิธีสอนตามขั้นที่ 4 ของอริยสัจ (Buddist's Method)
        ขั้นต่างๆ ของอริยสัจสี่ = ขั้นต่างๆ ของวิธีการแก้ปัญหา หรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ Reflective Thinking
        ทุกข์ = กําหนดปัญหา
        สมุทัย = การตั้งสมมติฐาน
        นิโรธ = การทดลองและเก็บข้อมูล
        มรรค = การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุป 

5. วิธีการสอนแบบทดลอง (The Laboratory Method)
        วิธีการสอนแบบทดลอง มีลักษณะคล้ายกับวิธีการสอนแบบวิทยาศาสตร์ แต่มี การปรับปรุงหลักการบางส่วนเพื่อความเหมาะสมกับการเรียนวิชาอื่นๆ เช่น ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์
        วิธีการสอนแบบทดลอง แสดงข้อเท็จจริง จากการสืบสวน ค้นคว้าและทดลอง
        วิธีการสอนแบบนี้ยังต่างจากการสอนแบบสาธิตด้วย เพราะการสอนแบบสาธิตเป็น ผู้ทดลองให้นักเรียนดูส่วนการสอนแบบทดลองนักเรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง

6. วิธีการสอนแบบอภิปราย (Discussion Method)
        วิธีการสอนแบบอภิปรายเป็นการสอนแบบการเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันเพื่อ ช่วยแก้ไขปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างครูกับนักเรียน หรือระหว่างนักเรียนด้วยกัน โดยมีครู เป็นผู้ประสานงาน ครูไม่ต้องซักถามปัญหานักเรียนแต่ให้นักเรียนซักถามปัญหาและช่วยกันตอบ อันเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนฝึกพูดและส่งเสริมการอยู่ร่วมกันแบบประชาธิปไตย

7. วิธีการสอนแบบจุลภาค (Micro-Teaching)
        วิธีการสอนแบบจุลภาค เป็นนวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation) เป็นประสบการณ์ที่ย่อส่วนลงมาอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมอย่างรัดกุม โดยสอนในห้องเรียน แบบง่ายๆ กับนักเรียน 5-6 คน ใช้เวลา 5-15 นาที เปิดโอกาสให้ครู ได้ฝึกทักษะการสอนแบบใหม่ๆ ขณะการสอนมีการบันทึกภาพเพื่อให้ครูได้ดูการสอนของตน เพื่อปรับปรุงทักษะให้ดีขึ้น ก่อนนําไปใช้จริงในชั้นเรียน การสอนวิธีนี้จึงเป็นการสอนแบบย่นย่อทั้งเวลา ขนาดของชิ้นงาน และทักษะ

8. วิธีการสอนแบบโครงการ (Project Method)
        วิธีสอนแบบโครงการ เป็นการสอนที่ให้นักเรียนเป็นหมู่หรือรายบุคคลได้วางโครงการ และดําเนินงานให้สําเร็จตามโครงการนั้น เป็นการสอนที่สอดคล้องกับสภาพชีวิตจริงนักเรียนเริ่มต้นทําโครงการด้วยการตั้งปัญหาและดําเนินการแก้ปัญหาด้วยการลงมือปฏิบัติจริง เช่น โครงการ แก้ปัญหาความสกปรกของโรงเรียน เป็นต้น

9. วิธีสอนแบบหน่วย (Unit Teaching Method)
        วิธีสอนแบบหน่วยเป็นวิธีการสอนที่นําเนื้อหาวิชาหลายวิชามาสัมพันธ์กัน โดยไม่กําหนดขอบเขตของวิชา แต่ยึดความมุ่งหมายของบทเรียนที่เรียกว่า “หน่วย” โดยไม่ยึด ขอบเขตรายวิชาแต่ถือเอาความมุ่งหมายของหน่วยเป็นหลัก เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของ ผู้เรียน การสอนเป็นหน่วยนั้นบางหน่วยจะสอนเป็นเวลาหลายเดือน บางหน่วยสอนจบภายในสอง สามวัน แล้วแต่ความเล็กใหญ่ของหน่วย

10. วิธีการสอนแบบศูนย์การเรียน (Learning Center)
        เป็นการเรียนรู้จากการประกอบกิจกรรมของนักเรียนโดยแบ่งบทเรียนออกเป็น 4 - 6 กลุ่ม แต่ละศูนย์ประกอบกิจกรรมแตกต่างกันออกไปตามที่กําหนดไว้ในชุดการสอน แต่ละกลุ่มจะมี สื่อการเรียนที่จัดไว้ในซองหรือในกล่องวางบนโต๊ะเป็นศูนย์กิจกรรม แต่ละกลุ่มหมุนเวียนกัน ประกอบกิจกรรมตามศูนย์ต่างๆ แห่งละ 15 - 20 นาที จนครบทุกศูนย์

11. วิธีการสอนโดยใช้บทเรียนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction)
        วิธีการสอนโดยใช้บทเรียนแบบโปรแกรม หมายถึง สื่อการเรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสามารถของแต่ละบุคคล โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นหลายๆ กรอบ แต่ละ กรอบจะมีเนื้อหาเฉพาะแบบฝึกให้ทําพร้อมเฉลยคําตอบ

12. บทเรียนโมดูล (Module)
        บทเรียน โมดูลเป็นบทเรียนหน่วยหนึ่ง ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษา เพื่อให้เกิด การเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของบทเรียนที่สร้างขึ้น บทเรียนโมดูลจะประกอบด้วยองค์ประกอบสําคัญ คือ องค์ประกอบของบทเรียนโมดูล
        1. หลักการและเหตุผล (Prospectus)
        2. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objectives)
        3. การประเมินผลก่อนเรียน (Pre-Assessment)
        4. กิจกรรมการเรียน (Enabling Activities)
        5. การประเมินผลหลังเรียน (Post-Assessment) 

13. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
        คอมพิวเตอร์ คือ สื่อการสอนที่เป็นเทคโนโลยีระดับสูง ที่นํามาประยุกต์ใช้ในการจัด กรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนคอมพิวเตอร์มีปฏิสัมพันธ์กัน หลักการของระบบคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนทุกแนวคิดมุ่งที่จะให้ระบบคอมพิวเตอร์ ให้เป็นสื่อสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอนให้

14. การสอนแบบ 4 MAT
        เป็นแผนการสอนที่ประยุกต์มาจากแบบใยแมงมุม แต่กิจกรรมจะนั้น 4 ขั้นตอนหรือ ใช้กับผู้เรียนที่มีความแตกต่างระหว่างบุคคล คือ
        ขั้นที่ 1 Why (ทําไม) เพื่อตั้งคําถาม กระตุ้นให้เด็กสนใจในเรื่องที่เรียน
        ขั้นที่ 2 What (อะไร) เป็นการอธิบายความเข้าใจการจัดการศึกษาด้วยตนเอง
        ขั้นที่ 3 How (ทําอย่างไร) เป็นการนําไปปฏิบัติการนําไปใช้
        ขั้นที่ 4 If (ถ้า...) เป็นการกระตุ้น 

15. แผนการสอนแบบ CIPPA
        แผนการสอนแบบ CIPPA เป็นแผนการสอนที่ใช้กิจกรรมที่เน้นผู้เรียน เป็นศูนย์กลาง 5 ด้าน ได้แก่
        1. Construct หรือ การสร้างความรู้ตามแนวคิดของ Constructivism ที่เปิดโอกาสให้ ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง
        2. Interaction หรือการปฏิสัมพันธ์หมายถึงผู้เรียนมีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนสื่อ และสิ่งแวดล้อมรอบตัว
        3. Physical Participation หรือการมีส่วนร่วมทางกาย หมายถึง ผู้เรียนมีโอกาส เคลื่อนไหวร่างกายในการทํากิจกรรมลักษณะต่างๆ
        4. Process Learning หรือการเรียนรู้กระบวนการต่างๆ ซึ่งเป็นทักษะที่จําเป็นต่อการ คํารงชีวิต
วิตปากวน 
        5. Application หรือการนําความรู้ไปประยุกต์ใช้ หมายถึง ผู้เรียนสามารถนําความรู้ ไปใช้ได้ในสถานการณ์ต่างๆ

16. วิธีสอนแบบ Storyline
        วิธีสอนแบบ Storyline เป็นการสอนแบบบูรณาการโดยการดึงเอาแนวคิดจากวิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษา ศิลปะ โดยใช้กระบวนการหลากหลายมาแก้ปัญหา และกิจกรรมหลายๆรูปแบบ โดยให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเองและตอบสนองความแตกต่าง ของผู้เรียน โดยคํานึงว่าผู้เรียนมีประสบการณ์และทักษะเดิม มีการเรียนรู้ในหลายลักษณะเช่น เรียนรายบุคคล กลุ่มใหญ่แต่เน้นการทํางานแบบร่วมมือ (Cooperative) และทํางานเป็นทีม


อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.


รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

เทคนิค/วิธีการสอน
ทักษะ/พฤติกรรมที่มุ่งเน้น
บทบาทผู้เรียน
1.กระบวนการสืบค้น

·  การศึกษาค้นคว้า
·  การเรียนรู้กับกระบวนการ
·  การตัดสินใจ
·  ความคิดสร้างสรรค์
ศึกษาค้นคว้าเพื่อสืบค้นข้อความรู้ด้วยตนเอง
2.การเรียนรู้แบบค้นพบ

·  การสังเกต การสืบค้น
·  การใช้เหตุผล การอ้างอิง
·  การสร้างสมมุติฐาน
  ศึกษาค้นพบข้อความรู้และขั้นตอนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
3.การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา

·  การศึกษาแบบค้นคว้า
·  การวิเคราะห์ สังเคราะห์
·  ประเมินค่าข้อมูล
·  การลงข้อสรุป
·  การแก้ปัญหา
    ศึกษาแก้ปัญหาอย่างเป็น
กระบวนการและฝึกทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญด้วยตนเอง
4.การเรียนรู้แบบสร้างแผนผัง

·  การคิด
·  การจัดระบบความคิด
  จัดระบบความคิดของตนให้ชัดเจนเห็นความสัมพันธ์
5.การตั้งคำถาม

·  กระบวนการคิด
·  การตีความ
·  การไตร่ตรอง
·  การถ่ายทอดความคิดความเข้าใจ
   เรียนรู้จากการคิดเพื่อสร้างข้อคำถามและคำตอบด้วยตนเอง
6.การศึกษาเป็นรายบุคคล

·  การศึกษาค้นข้อความรู้
·  การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
·  ความรับผิดชอบ
·  การตอบคำถาม
    เรียนรู้อย่างอิสระด้วยตนเอง
7.การจัดการเรียนการสอนที่ใช้
เทคโนโลยี

·  การแก้ปัญหา
·  การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
·  การเรียนรู้ที่ต้องการผลการเรียนทันที
·  การเรียนรู้ตามลำดับขั้นตอน
·  บทเรียนสำเร็จรูป
·  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
·  e-learning
    เรียนรู้ด้วยตนเองตามระดับความรู้ความสามารถของตนมีการแก้ไขฝึกซ้ำเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและความเชี่ยวชาญ
8.อภิปรายกลุ่มใหญ่

·  การแสดงความคิดเห็น
·  การวิเคราะห์
·  การตีความ
·  การสื่อความหมาย
·  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
·  การสรุปความ
  มีอิสระในการแสดงความคิดเห็นมีบทบาทมีส่วนร่วม ในการสร้างข้อความรู้
9.อภิปรายกลุ่มย่อย
·  กระบวนการการกลุ่ม
·  การวางแผน
·  กาแก้ปัญหา
·  การตัดสินใจ
·  ความคิดระดับสูง
·  ความคิดสร้างสรรค์
·  การแก้ไขข้อขัดแย้ง
·  การสื่อสาร
·  การประเมินผลงาน
·  การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้
รับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนในฐานะผู้นำกลุ่มหรือสมาชิกกลุ่มทั้งในบทบาทการทำงานและบทบาทเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม ในการสร้างข้อคามรู้สึกหรือผลงานกลุ่ม

9.1 เทคนิคคู่คิด

·  การค้นคว้าหาคำตอบ
·  การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
รับผิดชอบการร่วมกับเพื่อน
9.2 เทคนิคการระดมพลังสมอง

·  การมีส่วนร่วม
·  การแสดงความคิดเห็น
·  ความคิดสร้างสรรค์
·  การแก้ปัญหา
แสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลายในเวลาอันรวดเร็ว
9.3 เทคนิค buzzing

·  การค้นคว้าหาคำตอบด้วยเวลาจำกัด
แสดงความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปในเวลาอันจำกัด
9.4 การอภิปรายแบบกลุ่มต่างๆ

·  การสื่อสาร
·  การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
·  การสรุปข้อความ
   รับฟังขอมูลความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปในเวลาอันจำกัด
9.5 กลุ่มติว
·  การฝึกซ้ำ
·  การสื่อสาร
    ทบทวนจากกลุ่มหรือเรียนเพิ่มเติม
10.การฝึกปฏิบัติการ
·  การค้นคว้าหาความรู้
·  การรวบรวมข้อมูล
·  การแก้ปัญหา
    ศึกษาค้นคว้าข้อความรู้ในลักษณะกลุ่มปฏิบัติการ
11.เกม

·  การคิดวิเคราะห์
·  การตัดสินใจ
·  การแก้ปัญหา
    ได้เล่นเกมด้วยตนเองภายใต้กฎหรือกติกาที่กำหนดได้คิดวิเคราะห์พฤติกรรมและเกิดความสนุกสนานในการเรียน
12.กรณีศึกษา

·  การค้นคว้าหาความรู้
·  การอภิปราย
·  การวิเคราะห์
·  การแก้ปัญหา
    ได้ฝึกการคิดวิเคราะห์อภิปรายเพื่อสร้างความเข้าใจเลือกแนวทางแก้ปัญหา
13.สถานการณ์จำลอง

·  การแสดงความคิดเห็น
·  ความรู้สึก
·  การวิเคราะห์
  ได้ทดลองแสดงพฤติกรมต่างๆในสถานการณ์ที่จำลองใกล้เคียงสถานการณ์จริง
14.ละคร
·  ความรับผิดชอบในบทบาท
·  การทำงานร่วมกัน
·  การวิเคราะห์
ได้ทดลองแสดงบทบาทตามกำหนดเกิดประสบการณ์เข้าใจความรู้สึกเหตุผลและพฤติกรรมผู้อื่น

15.บทบาทสมมุติ

·  มนุษย์สัมพันธ์
·  การแก้ปัญหา
·  การวิเคราะห์
ได้ลองสวมบทบาทต่างๆและศึกษาวิเคราะห์ความรู้สึกและพฤติกรรมตน
16.การเรียนแบบร่วมมือ
ประกอบด้วยเทคนิค
JIGSAW, JIGSAW II, TGT STAD, LT, NHT, Co-op Co-op

·  กระบวนการกลุ่ม
·  การสื่อสาร
·  ความรับผิดชอบร่มกัน
·  ทักษะทางสังคม
    ได้เรียนรู้บทบาทสมาชิกกลุ่มมีบทบาทหน้าที่ รู้จักการไว้วางใจให้เกียรติและรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนสมาชิกกลุ่ม
17.การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

·  การนำเสนอความคิดเห็นประสบการณ์
·  การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์
·  กระบวนการกลุ่ม
มีส่วนร่วมในการอภิปรายแสดงความคิดเห็นหรือปฏิบัติจนได้ข้อสรุป
18.การเรียนการสอนแบบบูรณาการแบบ Shoreline Method

·  การค้นคว้าหาความรู้
·  การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
·  ทักษะทางสังคม

    มีส่วนร่วมในการเรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจและการคิดดำเนินการเรียนด้วยตนเองทั้งในห้องเรียนและสถานการณ์จริง


 เทคนิควิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อนำไปสู่การจัดการเรียนการสอน


ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ KWLH

Know

รู้อะไรบ้างจากคำว่าอากาศ

What to learn

ต้องการรู้อะไรจากเรื่อง อากาศ

What they learn as they read

รู้อะไรบ้างจากการอ่านเรื่อง อากาศ

How we can learned moreจะหาความรู้เพิ่มเติมโดยวิธีใด

  • อากาศมีตัวตนและสัมผัสได้
  • อากาศมีน้ำหนัก
  • อากาศต้องการที่อยู่
  • อากาศเคลื่อนที่ได้ และ เมื่ออากาศได้รับความร้อนจะขยายตัว ลอยตัวสูงขึ้น ทำให้ความหนา


อากาศ (atmosphere) มีส่วนผสมของก๊าซต่าง ๆอะไรบ้าง
อากาศมีประโยชน์ต่อทุกๆสิ่งบนโลกอยางไร
โอโซนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
โอโซนเกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง
อันตรายของโอโซนมีอะไรบ้าง?

          ส่วนผสมของก๊าซต่าง ๆ และไอน้ำซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ ก๊าซไนโตรเจน และก๊าซออกซิเจน นอกนั้นเป็นก๊าซอื่น ๆ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อย อากาศมีอยู่รอบ ๆ ตัวเราทุกหนทุกแห่ง ทั้บนยอดสูงสุดของภูเขาและในที่จอดรถใต้ดิน อากาศมีอยู่ในบ้าน มีอยู่ในโรงเรียนและในรถยนต์ อากาศไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น อากาศที่ไม่มีไอน้ำเรียกว่า อากาศแห้ง ส่วนอากาศที่มีไอน้ำปนอยู่ด้วย เรียกว่า อากาศชื้น ไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศมีอยู่ระหว่างร้อยละ 0-4 ของอากาศทั้งหมด ไอน้ำเป็นส่วนผสมที่สำคัญของอากาศ และไอน้ำก็เป็นสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น ลม พายุ ฟ้าแลบฟ้าร้อง รุ้งกินน้ำ       

   การเคลื่อนที่อยู่เสมอ บางเวลาเคลื่อนที่น้อย แต่บางเวลาเคลื่อนที่มาก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอากาศขึ้น ซึ่งเราสามารถสังเกตได้ง่ายๆ เช่น มีลมพัด มีเมฆ มีฝนตกเป็นต้น 

 ถ้าอุณหภูมิสองบริเวณมีความแตกต่างกันมาก จะทำให้ความหนาแน่นของอากาศสองบริเวณนั้น ทำให้เกิดลมที่มีกระแสลมพัดมีความเร็วสูง เรียกว่า พายุ ชื่อภาพยุนั้นจะเรียกแตกต่างไปตามแหล่งทวีปโลก และตามความรุนแรงของพายุที่เกิดขึ้น ถ้ารุนแรงมากอาจทำให้เกิดความเสียหายมากขึ้น เช่น เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง บ้านเรือนพังทลาย ประชากรเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

   อโซน (Ozone หรือ O3)  ก๊าซที่ประกอบไปด้วยออกซิเจน 3 อะตอม ซึ่งทุกๆ 10 ล้านโมเลกุลในบรรยากาศที่ความสูงระดับ 10 – 50 กิโลเมตร จะพบว่ามีโอโซนอยู่ที่ประมาณ 3 โมเลกุลเท่านั้น และโอโซนนี้เรียกว่าเป็นก๊าซออกซิเจนที่มีพลังซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคที่รุนแรงได้ดีกว่าคลอรีนมากถึง 3,125 
เกิดจากกระแสไฟฟ้าแรงสูงในอากาศอย่างแสงอาทิตย์, ฟ้าแลบ หรือฟ้าผ่า เป็นต้น โดยจะมีรังสียูวีที่คอยเปลี่ยนโครงสร้างของออกซิเจนให้เป็น O3อาจเกิดอันตรายแก่ปอดได้โดยเฉพาะในเด็กที่ระบบภูมิต้านทานยังไม่แข็งแรงเพียงพอ

 อาจเกิดผลเสียหรืออันตรายแก่ระบบพันธุกรรม หรืออวัยวะสืบพันธุ์ได้

หากมีปริมาณโอโซนสูงมากเกินไปจะก่อให้เกิดเป็นก๊าซพิษที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ

 หากมีการสัมผัสโอโซนในรูปของของเหลวที่ความเข้มข้นสูงบริเวณดวงตาหรือผิวหนังอาจก่อให้เกิดการระคายเคือง ทำให้รู้สึกปวดแสบปวดร้อนได้ไปจนถึงอาการไหม้ที่รุนแรงขึ้นได้

 อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงอย่างปวดศีรษะ, แน่นท้อง, ท้องเสีย, คลื่นไส้อาเจียน หรือแน่นหน้าอก เป็นต้น


·      อินเตอร์เน็ต
·      หนังสือ
·      วิจัย
·      เข้าร่วมกิจกรรมหรือโครงการต่าง
·      ทดลอง


ที่มา : http://www.xn-
                                    http://35laila.blogspot.com/2014/11/atmosphere-

ความคิดเห็น