การเรียนการสอนพื้นฐานของการเรียนตามปกติ

การศึกษานอกระบบ


          ในปัจจุบันวิถีการเรียนรู้ของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วอันเป็นผลสืบเนื่องมา จากความก้าวหน้าขององค์ความรู้และวิทยาการสมัยใหม่ การพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสังคมในโลกยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) ตลอดจนพัฒนาการของระบบเศรษฐกิจที่ใช้ความรู้เป็นฐาน (Knowledge-based Economy) ทำให้เกิดความต้องการการเรียนรู้อย่างกว้างขวางในแทบทุกกิจกรรมของสังคมวิถีการเรียนรู้ของคนจึงขยายขอบเขตจากการศึกษาในระบบ ไปสู่การเรียนรู้จากการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยทำให้เกิดกิจกรรมการศึกษาและแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย การศึกษานอกระบบจึงมีบทบาทสำคัญต่อวิถีชีวิตของมนุษย์

ความหมาย
          การศึกษานอกระบบหรือ 
Non-formal Education (NFE)ได้เกิดขึ้นครั้งแรกใน ปี ค.ศ. 1967 ในการประชุมของ UNESCOเรื่องThe World Educational Crisis ซึ่งได้นิยามการศึกษานอกระบบ หมายถึง การจัดการกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แต่นอกกรอบของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนปกติ โดยมุ่งบริการให้คนกลุ่มต่างๆ ของประชากร ทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และเด็ก” โดยเน้นการเรียนรู้ (Learning) แต่ในปัจจุบันการศึกษานอกระบบคือ กระบวนการจัดการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน ทั้งที่เป็นทัศนคติ ทักษะ และความรู้ซึ่งทำได้ยืดหยุ่นกว่าการเรียนในระบบโรงเรียนทั่วไป สมรรถนะที่เกิดจากการศึกษานอกระบบมีตั้งแต่ทักษะในการเรียนรู้ด้วยตนเอง การทำงานเป็นกลุ่ม การแก้ไข ความขัดแย้งการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม การเป็นผู้นำ การแก้ปัญหาร่วมกัน การสร้างความเชื่อมั่น ความรับผิดชอบและความมีวินัย การศึกษานอกระบบยุคใหม่จึงเน้นการเรียนรู้และสมรรถนะ (Learning and Competency) (จรวยพร  ธรณินทร์,2550)
          การศึกษานอกระบบโรงเรียน (
Non – Formal Education) เป็นแนวทางหนึ่งในการจัดการศึกษาซึ่งเปิดโอกาสให้กับผู้ที่ไม่ได้เข้ารับการศึกษาในระบบโรงเรียนตามปกติ ได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้ พัฒนาตนเอง ให้สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เป็นการจัดการศึกษาในลักษณะอ่อนตัวให้ผู้เรียนมีความสะดวกเลือกเรียนได้หลายวิธีจึงก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตัวผู้เรียนและสังคมเป็นอย่างยิ่ง การศึกษานอกโรงเรียนมีความหมายครอบคลุมถึงมวลประสบการณ์การเรียนรู้ทุกชนิดที่บุคคลได้รับจากการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ตามธรรมชาติการเรียนรู้จากสังคม และการเรียนรู้ที่ได้รับจากโปรแกรมการศึกษาที่จัดขึ้นนอกเหนือไปจากการศึกษาในโรงเรียนตามปกติ เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลที่มิได้อยู่ในระบบโรงเรียนปกติ ได้มีโอกาสแสวงหาความรู้ ทักษะ ทัศนคติ เพื่อมุ่งแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ฝึกฝนอาชีพ หรือการพัฒนาความรู้เฉพาะเรื่องตามที่ตนสนใจ (อาชัญญา รัตนอุบล 2542 : 1)
          การศึกษานอกระบบโรงเรียน เป็นการศึกษาที่มุ่งจัดให้กลุ่มเป้าหมายได้พัฒนาชีวิตและสังคม โดยมีหลักการจัดการศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่ด้อยโอกาสพลาดหรือขาดโอกาสทางการศึกษาในระบบโรงเรียน ได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้ ฝึกทักษะ ปลูกฝังเจตคติที่จำเป็นในการดำรงชีวิต และการประกอบสัมมาชีพ อีกทั้งสามารถปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของวิทยาการต่าง ๆ ที่เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วได้อย่างมีความสุขตามควร แก่อัตภาพ (กรมการศึกษานอกโรงเรียน
,2538 อ้างถึงใน อาชัญญา รัตนอุบล2542 : 3) งานด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียนหมายถึง การจัดกิจกรรมการศึกษาที่จัดขึ้นนอกระบบโรงเรียน โดยมีกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการและวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ชัดเจน กิจกรรมการศึกษาดังกล่าว มีทั้งที่จัดกิจกรรมโดยเอกเทศ และเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมอื่น หน่วยงานที่จัดการศึกษานอกโรงเรียนนั้น เป็นทั้งหน่วยงานที่มีหน้าที่ทางการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยตรง และหน่วยงานอื่น ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนชุมชนที่อาศัย การศึกษาเป็นเครื่องมือนำไปสู่วัตถุประสงค์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคม ในทางทฤษฎีจึงได้นับเนื่องเอาการศึกษานอกโรงเรียนเป็นระบบหนึ่งของการศึกษาตลอดชีวิต ที่มีส่วนเชื่อมโยงอย่างแนบแน่นและต่อเนื่องกับการศึกษาในระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย ทำให้การศึกษานอกระบบโรงเรียนเป็นความหวังของวงการศึกษา และเป็นกลไกที่สำคัญของรัฐในการพัฒนาคุณภาพของคนส่วนใหญ่ในประเทศได้ (รณรงค์ เมฆานุวัฒน์2543 : 6 – 7) การศึกษานอกระบบโรงเรียนจึงถือเป็นกระบวนการของการศึกษาตลอดชีวิต ซึ่งมีภารกิจสำคัญที่จะต้องให้ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค โดยเฉพาะการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตตามมาตรฐานของสังคมที่เป็นสิทธิที่คนทุกคนพึงได้รับการศึกษา นอกจากนั้นยังจะต้องได้รับการศึกษาที่ต่อเนื่องจากการศึกษาขั้นพื้นฐานของชีวิต เพื่อนำความรู้ไปพัฒนาอาชีพของตน (กองส่งเสริมปฏิบัติการ 2541 : 1 )
          ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 15  การศึกษานอกระบบ หมายถึง การศึกษาซึ่งจัดขึ้นนอกระบบปกติ ที่จัดให้กับประชาชนทุกเพศทุกวัย ไม่มีการจำกัดพื้นฐานการศึกษาอาชีพประสบการณ์หรือความสนใจ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้เรียนได้รับความรู้ในด้านพื้นฐานแก่การดำรงชีวิต ความรู้ทางด้านทักษะ การประกอบอาชีพและความรู้ด้านอื่น ๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต การจัดการศึกษามีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษาระยะเวลาของการศึกษา การวัดผลและประเมินผล ซึ่งเงื่อนไข การสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตร จะต้องมีตามเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนแต่ละคน
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 ระบุว่าการศึกษานอกระบบ หมายถึงกิจกรรมการศึกษาที่มีกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการและวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ที่ชัดเจน มีรูปแบบ หลักสูตร วิธีการจัดและระยะเวลาเรียนหรือฝึกอบรมที่ยืดหยุ่นและหลากหลายตามสภาพความต้องการและศักยภาพในการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายนั้นและวิธีการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานเพื่อรับคุณวุฒิทางการศึกษา หรือเพื่อจัดระดับผลการเรียนรู้
          ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า การศึกษานอกระบบหมายถึง กระบวนการทางการศึกษาที่จัดขึ้นเพื่อเพิ่มหรือพัฒนาศักยภาพให้แก่ประชาชน ทั้งในด้านความรู้ ความชำนาญ หรืองานอดิเรกต่างๆ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาอาจได้รับหรือไม่ได้รับเกียรติบัตรก็ได้ ซึ่งเกียรติบัตรนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการปรับเทียบเงินเดือนหรือศึกษาต่อ ยกเว้นการศึกษาสายสามัญของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่มีการมอบวุฒิบัตรที่สามารถปรับเทียบเงินเดือนหรือศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นได้
การศึกษานอกระบบ (
Non-formal Education) เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นและหลากหลายรูปแบบ ไม่มีข้อจำกัดเรื่องอายุและสถานที่โดยมุ่งหมายให้เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนา คุณภาพมนุษย์ มีการกำหนดจุดมุ่งหมาย หลักสูตร วิธีการเรียนการสอน สื่อ การวัดผลและประเมินผลที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งอาจแบ่งได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ ประเภทความรู้พื้นฐานสายสามัญประเภทความรู้และทักษะอาชีพ และประเภทข้อมูลความรู้ ทั่วไป
หลักการของการศึกษานอกระบบ
          1. เน้นความเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษาการกระจายโอกาสทางการศึกษาให้ครอบคลุมและทั่วถึง
          2. ส่งเสริมการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตมีความยืดหยุ่นในเรื่องกฎเกณฑ์
ระเบียบต่าง ๆ
          
3. จัดการศึกษาให้สนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายให้เรียนรู้ในสิ่งที่สัมพันธ์กับชีวิต
          4. จัดการศึกษาหลากหลายรูปแบบคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้สอนมิได้จำกัดเฉพาะครู อาจจะเป็นผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานหรือจากท้องถิ่น
สรุป
          การศึกษานอกระบบ เป็นกระบวนการจัดการศึกษาให้ผู้พลาดโอกาสเรียนจากระบบการศึกษาปกติ หรือผู้ต้องการพัฒนาตนเอง ได้รับการเรียนรู้ โดยเน้นการเพิ่มศักยภาพของผู้เรียน ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนทุกคนได้รับโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามสิทธิมนุษยชนที่ทุกคนพึงได้รับดังกล่าว ส่งผลให้ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตได้อย่างแท้จริง เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ที่กว้างขวางและเป็นไปในอัตราที่รวดเร็ว อันจะส่งผลให้ประเทศมีศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาโดยรวมเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน เพราะเป็นการพัฒนาที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาโดยมุ่งเน้นให้คนมีคุณธรรมนำความรู้ อันจะเป็นสะพานทอดนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาต่อไป
การศึกษาในระบบ (Formal Education)
ความนำ
          
การศึกษา (Education) ในมาตรา ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 นิยาม ความหมายของการศึกษา มีความหมายว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรมการสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต” และมาตรา 15 ได้กำหนดระบบการศึกษา ในการจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
          
ความหมายการศึกษาในระบบการศึกษาในระบบ (
Formal Education) คือการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษาการวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน

วัตถุประสงค์ของการศึกษาในระบบ
          1) ถ่ายทอดหรือปลูกฝัง เนื้อหา ความรู้ ความเข้าใจที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้ได้รับการศึกษาวางตัวได้เหมาะสมในสังคม และมีความสามารถประกอบอาชีพตามความถนัด ความสนใจ หรือตามโอกาสของแต่ละบุคคล
          
2) เตรียมเด็กก่อนวัยเรียน ให้มีความพร้อมในการเรียนรู้และจัดให้เด็กในวัยเรียน ได้รับการศึกษาเพื่อเรียนรู้ และพัฒนาตนเองต่อเนื่องเพื่อให้มีพัฒนาการทั้งทางร่างกาย เชาวน์ปัญญา ความสนใจที่เหมาะสมมีความพร้อมในการศึกษาระดับสูงขึ้นไป
          
3) เพื่อพัฒนาเด็กในวัยเรียนทุกระดับให้ได้รับการศึกษา เพื่อประโยชน์สำหรับการเตรียมตัวระดับพื้นฐาน และเพื่อมีความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพการงานต่อไป    4) ตอบสนองความต้องการทางการศึกษาระดับสูงในเชิงคุณภาพ มุ่งส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสได้พัฒนาความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน เพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพ ซึ่งอาจดำเนินการโดยสถาบันอุดมศึกษา ที่เน้นการวิเคราะห์ วิจัยระดับสูง มุ่งคิดค้นเนื้อหาสาระที่แปลกใหม่จากเดิม นอกจากนี้ยังรวมถึงการฝึกอบรมเฉพาะทางเช่น ด้านการเกษตร การอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นต้น
          
5) พัฒนาศักยภาพของบุคคลเต็มความสามารถและตอบสนองวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศ เน้นพัฒนากลุ่มเป้าหมายในลักษณะบูรณาการ คือ มีความสมบูรณ์ครบถ้วนทุกด้าน ทั้งทางร่างกาย สติปัญญาคุณธรรม ความคิด ความสำนึก ความรับผิดชอบ ฯลฯ ซึ่งตามปกติเป็นหน้าที่ของสถานศึกษา และอาจจัดเสริมเติมในลักษณะฝึกอบรมเฉพาะหรือแทรกในกิจกรรมการเรียนการสอนปกติ

เป้าหมายของการจัดการศึกษาในระบบ
          1) เด็กก่อนวัยเรียน เป็นการจัดกิจกรรมในลักษณะการเตรียมความพร้อมเพื่อส่งเสริมทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ได้แก่ กิจกรรมการเคลื่อนไหวตามจังหวะ กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมเกมการศึกษาเป็นต้น
          
2) บุคคลในวัยเรียน เป็นการจัดการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมายดังต่อไปนี้
                    2.1) การศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งได้แก่ การจัดการศึกษาในระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา การศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น มักใช้เวลาประมาณสิบสองปี เป็นส่วนใหญ่ ในช่วงปลายของการศึกษาเยาวชนที่สนใจสายอาชีพ แทนที่จะศึกษาสายสามัญ ก็อาจเลือกเข้าเรียนในสถานศึกษา สายอาชีพได้ ซึ่งได้แก่ โรงเรียนอาชีวศึกษา ประเภทต่าง ๆ
                    
2.2) การศึกษาระดับอุดมศึกษา เมื่อสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้เรียนที่มุ่งศึกษาต่อก็อาจเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งรวมสถาบันอุดมศึกษาสายอาชีพต่ำกว่าปริญญาด้วย
 องค์ประกอบของการจัดการศึกษาในระบบ    องค์ประกอบของการจัดการศึกษา มีดังต่อไปนี้
          1. สาระเนื้อหาในการศึกษา การจัดการศึกษาในระบบ จะจัดทำหลักสูตรเป็นตัวกำหนดเนื้อหาสาระหลักสูตรในหลักสูตรกลางแต่ละระดับขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้สถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถจัดเนื้อหาสาระที่เหมาะสมกับท้องถิ่นได้ด้วย โดยมีเนื้อหาสาระที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา ทั้งนี้ต้องทบทวนเนื้อหาสาระ เพื่อปรับแก้ไขให้ถูกต้องทันสมัย และให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้เรียน
          2. ครู ครูผู้สอน หรือผู้ให้การเรียนรู้ ผู้ถ่ายทอดเนื้อหาสาระได้แก่ ครู และอาจารย์ ซึ่งถือเป็นผู้ประกอบอาชีพชั้นสูง บุคคลเหล่านี้ต้องได้รับการอบรมทั้งในด้านเนื้อหา และวิธีการถ่ายทอด เพื่อให้สามารถถ่ายทอดความรู้ และสาระวิชาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          
3. สื่อและอุปกรณ์สำหรับการศึกษา เช่น อาคารสถานที่ โต๊ะเก้าอี้ กระดานเขียน หนังสือ แบบเรียน สมุด ดินสอ ตลอดทั้งอุปกรณ์ที่ทันสมัยที่มีราคาแพงทั้งหลาย เช่น อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น สื่อและอุปกรณ์เหล่านี้เป็นส่วนประกอบที่จำเป็นสำหรับการจัดการศึกษา
          
4. รูปแบบวิธีการเรียนการสอน การศึกษาในระบบยุคปฏิรูปการศึกษา เน้นความสำคัญที่ตัวผู้เรียน รูปแบบวิธีการเรียนการสอนใหม่แตกต่างไปจากเดิม ซึ่งมีกระบวนการเรียนการสอนที่หลากหลาย เช่น การระดมความคิด การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การนำชมนอกสถานที่เรียน การใช้อุปกรณ์เครื่องมือประกอบ
          
5. สถานศึกษาและบรรยากาศแวดล้อม การจัดการศึกษาในระบบ ยังต้องอาศัยชั้นเรียนยังเป็นสิ่งจำเป็น ดังนั้นอาคารสถานที่ห้องเรียน และบรรยากาศแวดล้อมที่ใช้ในการจัดการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นซึ่งจะต้องจัดบรรยากาศแวดล้อมที่เอื้อการเรียนรู้
          
6. ผู้เรียน ผู้เรียนหรือผู้ศึกษาถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของการจัดการศึกษา เพราะผู้เรียนคือผู้รับการศึกษาและเป็นเป้าหมายหลักของการจัดการศึกษา การปรับเปลี่ยนความรู้และพฤติกรรมของผู้เรียน เป็นดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของการจัดการศึกษา การจัดการศึกษาจึงครอบคลุมขั้นตอนที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียนตั้งแต่การเตรียมความพร้อม สำหรับการเรียนรู้ การให้การศึกษาอบรมการประเมินและการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ต่อเนื่อง

สรุป
          การศึกษาในระบบ (Formal Education) เป็นการศึกษาที่มีรูปแบบและระบบแบบแผนชัดเจน มีการกำหนดวัตถุประสงค์ หลักสูตรวิธีการจัดการเรียนการสอน การวัดผล และการประเมินผลที่แน่นอน ซึ่งการศึกษาในระบบของไทยประกอบไปด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาในขั้นอุดมศึกษา โดยการศึกษาขั้นพื้นฐาน ถูกแบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ยังถูกแบ่งเป็นประเภทสามัญศึกษาและประเภทอาชีวศึกษาอีกด้วย สำหรับในการศึกษาขั้นอุดมศึกษานั้น แบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆคือ ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท และปริญญาเอก

การศึกษาตามอัธยาศัย 
          การศึกษาตามอัธยาศัย หมายถึง วิธีการที่หลากหลายที่นำไปสู่การเรียนรู้อาจเกิดขึ้นโดยการถูกผลักดันให้เกิดขึ้นผ่านกระบวนการสนทนา เกี่ยวข้องกับการสำรวจ และขยายประสบการณ์ โดยไม่อาจทำนายล่วงหน้าได้ เป็นสิ่งที่บังเอิญเกิดขึ้นอุบัติขึ้น(วิศนี ศิลตระกูล และอมรา ปฐภิญโญบูรณ์2544: 2-3)
           การศึกษาตามอัธยาศัย หมายถึง การศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ จากการทำงาน จากบุคคล จากครอบครัว จากชุมชน จากแหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีลักษณะที่สำคัญคือ ไม่มีหลักสูตร ไม่มีเวลาเรียนที่แน่นอน ไม่จำกัดอายุ ไม่มีการลงทะเบียน และไม่มีการสอน ไม่มีการรับประกาศนียบัตร มีหรือไม่มีสถานที่แน่นอน เรียนที่ไหนก็ได้ ลักษณะการเรียนส่วนใหญ่เป็นการเรียนเพื่อความรู้และนันทนาการ อีกทั้งยังไม่จำกัดเวลาเรียน สามารถเรียนได้ตลอดเวลาและเกิดขึ้นในทุกช่วงวัยตลอดชีวิต (กรมการศึกษานอกโรงเรียน
,2538: 83)
          ศูนย์ส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย กรมการศึกษานอกโรงเรียน (2544) ให้นิยามการศึกษาตามอัธยาศัยว่า เป็นการจัดสภาพแวดล้อม สถานการณ์ ปัจจัย เกื้อหนุน สื่อ แหล่งความรู้ และบุคคล เพื่อส่งเสริมให้บุคคลได้เรียนรู้ตามความสนใจ
          ในมาตรา 15 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับ พุทธศักราช 2542 นิยามว่า การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ตามความสนใจ
 ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่นๆ (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช ๒๕๔๒:13) นักการศึกษาคนสำคัญชื่อ Coombs และ Ahmed (1974) ให้ความหมายว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งบุคคลแสวงหาและรับความรู้ ทักษะ ทัศนคติความเข้าใจที่กระจ่างชัดที่เกี่ยวกับประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน และการแสดงออกต่อสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวบุคคล (La Belle, 1982:161)
          การศึกษาตามอัธยาศัย หมายถึง ผลของการเรียนรู้อันเกิดจากสถานการณ์ที่ผู้เรียน หรือแหล่งความรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง มีเจตจำนงเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ แต่ไม่ใช่ทั้งสองปัจจัยเกิดตรงกัน (
Evan, 1981:chapter II)
          การศึกษาตามอัธยาศัย ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ การเรียนรู้ตลอดชีวิต (
Lifelong learning) ที่เติมเต็มความต้องการของปัจเจกที่ต้องการเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ นอกเหนือการเรียนในระบบโรงเรียน โอกาสของการเรียนรู้ตามอัธยาศัยเกิดขึ้นในสถานที่ต่างๆ และจากสื่อต่างๆ (ตัวอย่างเช่น รายการกระจายเสียง ภาพยนตร์ CD)
นิยามของการศึกษาตามอัธยาศัยสามารถอธิบายได้ 2 มิติ คือ มิติของผู้เรียนและมิติของผู้จัด/หรือสภาพการที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ดังนี้:
           ผู้เรียน: ผู้เรียนควบคุมวิธีการเรียนเอง มีวิธีการเรียนที่หลากหลายที่นำไปสู่การเรียนรู้ด้วยตนเองกระบวนการเรียนรู้และผลของการเรียนรู้เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ และสร้างเสริมประสบการณ์โดยตรง ผู้เรียนสร้างความหมายตามความเข้าใจ และเป็นกระบวนการต่อเนื่องตลอดชีวิต ผู้จัด/หรือสภาพการที่เอื้อต่อการเรียนรู้: ส่งเสริมให้ผู้เรียนควบคุมวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองจากบุคคล จากครอบครัว จากชุมชน จากสังคม จากประสบการณ์ จากการทำ งาน และจากการดำ รงชีวิตประจำ วัน จากสภาพแวดล้อมทั้งที่มีอยู่ตามธรรมชาติและมีการดำเนินการให้มีขึ้น ไม่ว่าโดยมนุษย์ หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ จากปัจจัยเกื้อหนุนต่างๆ จากสถานการณ์ และสื่อต่างๆ 
          การศึกษาตามอัธยาศัย (informal education) จึงมุ่งให้เกิดการเรียนรู้ตามอัธยาศัย (informal learning) โดยเกื้อหนุนให้ผู้เรียนกำหนด/เลือกวิธีการเรียนเอง หรือตามวัตถุประสงค์ของสถาบันหรือแหล่งความรู้นั้น ๆ ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตลอดเวลา โดยมีเป้าหมายเพื่อทำให้บุคคลมีโอกาสแสวงหาและรับความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ความเข้าใจ อันจะนำไปสู่การพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม
          การเรียนรู้ตามอัธยาศัยและการเรียนรู้ด้วยตนเองควบคู่กับคำว่า การศึกษาตามอัธยาศัย” (informal education) ก็คือ การเรียนรู้ตามอัธยาศัย (Informal Learning) ซึ่งเป็นการอธิบายการเรียนรู้ในมิติของผู้เรียน การเรียนรู้ตามอัธยาศัย” นี้Livington7(1999)นิยามว่าเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องความเข้าใจ ความรู้ หรือทักษะ ที่เกิดขึ้นโดยไม่ต้องเสนอโดยผ่านหลักสูตรหรือโปรแกรมจากสถาบันการศึกษาในระบบหรือนอกระบบ และในความพยายามในการจำแนกประเภท (taxonomy) ของการเรียนรู้ตามอัธยาศัย นั้น Schugurensky (2000)8 เสนอแนะว่ามี 3 ชนิด คือ การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง(Selfdirected learning) การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ (Incidental learning) และการเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง
           (
Self-directed learning) เป็นโครงการเรียนรู้ที่กำหนดโดยผู้เรียน โดยไม่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากนักการศึกษา แต่สามารถเป็นการนำเสนอของวิทยากร การเรียนรู้แบบนี้เป็นเรื่องของความตั้งใจ เพราะผู้เรียนมีจุดหมายในบางสิ่งบางอย่างที่ต้องการเรียนรู้ สิ่งนั้นอาจมาก่อนที่กระบวนการเรียนรู้จะเกิดขึ้น เป็นเรื่องของจิตสำนึก โดยปัจเจกบุคคลตระหนักว่าเขาต้องเรียนรู้ในบางสิ่งบางอย่างการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ
          (
Incidental learning) หมายถึงประสบการณ์ในการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมิได้มีความตั้งใจมาก่อนว่าจะต้องเรียนสิ่งนั้น แต่เมื่อได้รับประสบการณ์ ขาก็รับรู้ได้ว่าเขาได้เรียนรู้บางอย่างขึ้นมาดังนั้น จึงเป็นความไม่ตั้งใจแต่รู้สึกตัว (unintended but conscious การเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน
          (
Tacit learning) หมายถึงการรู้ในคุณค่าทัศนคติ พฤติกรรม หรือทักษะต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน มิใช่เพียงแค่การเรียนรู้ตามอัธยาศัยมีเกิดขึ้นโดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การตีความ” (Interpretation) ซึ่งวิธีการนี้มีการนิยามไว้หลายลักษณะด้วยกัน แต่เมื่อไม่นานมานี้ ก็เกิดเห็นพร้องต้องกันในนิยามที่ใกล้เคียงกันในสองลักษณะว่า
   
การตีความ” เป็นกระบวนการในการสื่อสารในลักษณะของความสัมพันธ์ทางด้านอารมณ์และสติปัญญา ระหว่างความสนใจของผู้ชมและความหมายที่มีอยู่ในแหล่งเรียนรู้นั้น    การตีความ” ให้โอกาสกับประชาชนในทั้งทางด้านสติปัญญาและอารมณ์การตีความควรมีจุดมุ่งหมายที่จะนำเสนอในภาพรวม มากกว่าแยกส่วน “การตีความ  ที่นำเสนอต่อเด็กไม่ควรที่จะลดความเข้มข้นจากสิ่งที่เสนอต่อผู้ใหญ่ แต่ควรเสนอด้วยวิธีการพื้นฐานที่แตกต่างกัน โดยอาจแยกโปรแกรมกัน

แนวคิดเรื่องหลักสูตรของการศึกษาตามอัธยาศัย
          แนวคิดเรื่องหลักสูตรนี้ Jeffs และ Smith (1990;1999) ได้โต้แย้งความเห็นที่ว่าหลักสูตรทำให้เกิดการเส้นแบ่งระหว่างการศึกษาในระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เขายืนยันว่าทฤษฎีหลักสูตรและการปฏิบัติ(Curriculum theory andpractice) กำหนดขึ้นภายใต้บริบทของโรงเรียน และนี่เองคือปัญหาที่สำคัญเมื่อนำมาใช้ในการศึกษาตามอัธยาศัย การรับแนวคิดในเรื่องทฤษฎีหลักสูตรและการปฏิบัติ โดยนักการศึกษาตามอัธยาศัย เกิดขึ้นจากความต้องการที่จะให้มีความชัดเจนเกี่ยวกับเนื้อหา ซึ่งก็ยังมีความลำบากในความเห็นนี้ กระนั้นก็ตาม ยังมีสิ่งที่ต้องเน้นในเรื่องนี้สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัย 2 ประการ
          ประการแรก ในรูปแบบของหลักสูตร ครูเข้าสู่สถานการณ์ด้วยข้อเสนอของการปฏิบัติ (proposal for action) ซึ่งได้กำหนดหลักการและรายละเอียดของการศึกษาที่ชัดเจนแล้ว แต่การศึกษาตามอัธยาศัยมิใช่เช่นนั้น นักการศึกษาตามอัธยาศัยไม่จำเป็นต้องมีสิ่งนี้ เขาไม่จำเป็นต้องก้าวสู่สถานการณ์ด้วยข้อเสนอของการปฏิบัติที่ชัดเจน แต่เขามีความคิดที่ว่าจะทำอะไรเพื่อให้ความเป็นอยู่ของคนดีขึ้น หรือซาบซึ้งในบทบาทและยุทธวิธี(ซึ่งยุทธวิธีอาจเป็นภาพกว้างๆ ของกลุ่มเป้าหมาย และวิธีการกว้างๆ) จากนั้นเขาก็พัฒนาเป้าหมายและวิธีการปฏิสัมพันธ์ที่จะสอดแทรกเข้าไป
          ประการที่สอง คือบริบท ซึ่งการศึกษาตามอัธยาศัยย่อมมีบริบทที่แตกต่างออกไปเมื่อบริบทเปลี่ยนไป ลักษณะของกิจกรรมก็ย่อมเปลี่ยนไปด้วยแนวคิดเรื่องการประเมินผลในงานการศึกษาตามอัธยาศัยการศึกษาตามอัธยาศัยในบางลักษณะเป็นกิจกรรมชุมชน ดังนั้นลักษณะและวิธีการประเมินผลการศึกษาตามอัธยาศัยจึงแตกต่างไป ซึ่งเรื่องนี้ 
Everitt

แนวทางการประเมินนี้ Joanna Rowlands (1991) ได้เขียนไว้สรุปได้ดังนี้
          1. การประเมินถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่บูรณาการอยู่ในกระบวนการพัฒนา หรือกระบวนการเปลี่ยนแปลง และรวมถึงการ สะท้อนความคิด-การปฏิบัติ (reflection-action)
          2. การประเมินเน้นการ 
สนทนา” (dialogue) มากกว่า กาวัด”(measurement) และมีแนวโน้มที่จะใช้วิธีการที่เป็นทางการให้น้อยลง เช่น ใช้การสัมภาษณ์อย่างไม่มีโครงสร้าง การสังเกตแบบมีส่วนร่วม
          3. วิธีการที่ใช้เป็นกระบวนการเพื่อ 
เสริมพลังอำนาจ” (empowering process) มากกว่าการควบคุมโดยคนภายนอก ซึ่งเรื่องนี้พึงตระหนักว่าบุคคลหรือกลุ่มที่แตกต่างกันออกไป ย่อมรับรู้แตกต่างกัน

          4. ผู้ประเมินมีบทบาทในลักษณะของ ผู้อำนวยความสะดวก” (facilitator) มากกว่าเป็นบุคคลภายนอกที่มีจุดมุ่งหมาย การประเมินในลักษณะดังกล่าวควรเป็นมุมมองของคนใน (insiders)
             โดยสรุป การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการจัดศึกษาเพื่อให้คนได้เรียนรู้จากบุคคลครอบครัว ชุมชน สื่อ หรือแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิงและพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีความยืดหยุ่นอย่างมากในเรื่องเนื้อหา ระยะเวลาเรียนกลุ่มเป้าหมาย มุ่งให้เกิดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง อันจะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต

กรณีตัวอย่างการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยของ NASA
          
ในการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย ขอยกตัวอย่างกิจกรรมของ NASA ซึ่งได้เสนอการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนอกชั้นเรียนตามปกติ โดยเน้นวิธีการตีความ ซึ่งถือว่าเป็น สื่อกลางที่มีประสิทธิภาพที่เปิดโอกาสในการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ในระบบวิทยาศาสตร์ของโลกให้กับสาธารณชน การเรียนรู้ตามอัธยาศัยเกิดขึ้นในที่ต่างๆรวมทั้งพิพิธภัณฑ์ สวนสาธารณะ กลุ่มต่างๆ ในชุมชน และที่บ้านของผู้เรียน
   
โปรแกรมการศึกษาตามอัธยาศัยเกี่ยวกับโลกวิทยาศาสตร์ 
Earth System Science-ESE ของ NASA เปิดโอกาสอย่างหลากหลายให้กับประชาชนทุกวัย ตามความสนใจ และตามภูมิหลัง เพื่อให้เกิดความเข้าใจและซาบซึ้งในแหล่งความรู้นี้และผลผลิตทางด้านวิทยาศาสตร์โปรแกรมการศึกษาตามอัธยาศัยเกี่ยวกับโลกวิทยาศาสตร์ ของ NASA มีองค์ประกอบ 6 อย่าง (six element) คือศูนย์การเรียนรู้ตามอัธยาศัย (Informal Learning Centre) พิพิธภัณฑ์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ ท้องฟ้าจำลอง สวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ป่าดั้งเดิม สวนพฤกษศาสตร์ ห้องกระจกสำหรับปลูกต้นไม้ และอื่นๆ ) พื้นที่ธรรมชาติและประวัติศาสตร์ (สวนสาธารณะ ที่พักอาศัยของสัตว์ป่าพื้นที่นันทนาการของประเทศ ป่าไม้ของประเทศ สวนสาธารณะของรัฐสวนสาธารณะของชุมชน ศูนย์ธรรมชาติของเอกชนและสาธารณะ สวนสาธารณะทางด้านประวัติศาสตร์ และอนุสรณ์สถาน โบราณสถาน เป็นต้น)
 สถานที่เหล่านนี้นำเสนอในสิ่งที่ 
เป็นจริง” ที่มีมาแต่เริ่มแรก สื่อผสม (วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์และวิดีโอ CD DVD เครื่องเล่นทางการศึกษา อินเตอร์เนต และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ)กลุ่มเยาวชน (ลูกเสือ อนุกาชาด ชมรมเด็กหญิง เด็กชาย โปรแกรมหลังเลิกเรียน เป็นต้น) กลุ่มต่างๆ ในชุมชน (ศูนย์ผู้สูงอายุ องค์กรประชาชน สถานสงเคราะห์คนชรา เป็นต้น)
          โปรแกรมการศึกษาตามอัธยาศัยของ 
NASA พยายามส่งเสริมความร่วมมือระหว่าองค์กรต่างๆ ที่มีเป้าหมายคล้ายคลึงกัน ตัวอย่างเช่น ถ้านิทรรศการของพิพิธภัณฑ์ได้รับทุนสนับสนุนจาก NASA เขาก็จะส่งเสริมให้พัฒนาโปรแกรมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาในระบบเพื่อให้กลุ่มนักเรียนที่มาทัศนศึกษาได้เรียนรู้ด้วย หรือถ้าศูนย์วิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ หรือศูนย์โบราณคดีต่างก็สนใจในสภาวะการเปลี่ยนแปลงของฝั่งทะเล ก็อาจมีการพัฒนาผลงานการศึกษาตามอัธยาศัยขึ้นมาชิ้นหนึ่งซึ่งเป็นการผสมผสานงานของทั้งสามองค์กร ซึ่งก็จะมีส่วนงานซึ่งกันและกัน และก็เป็นงานที่ส่งเสริม NASA 

ลักการ 6 ประการในการจัดโลกวิทยาศาสตร์ของ NASAในรูปแบบของการศึกษาตามอัธยาศัย
             1. การศึกษาตามอัธยาศัยต้องสัมพันธ์สิ่งที่นำเสนอ กับผู้ที่ตั้งใจมาชม
          2. การศึกษาตามอัธยาศัยมิใช่เพียงการให้ความรู้อย่างง่ายๆ หรือเพียงแค่ความบันเทิง หากแต่แสดงให้เห็นถึงข้อมูลต่างๆ ที่ช่วยให้ผู้ชมสามารถเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งในสิ่งที่เสนอ(เช่น ดาวเทียม 
remote sensing เครื่องมือต่างๆ ผลการวิจัย โครงการต่างๆ ที่นำเสนอด้วย)
             3. การศึกษาตามอัธยาศัยเป็นศิลปะ ซึ่งผสมผสานคิลปะในด้านต่างๆเพื่อที่จะนำเสนอหัวข้อนั้นๆ
          4. จุดมุ่งหมายที่สำคัญของการศึกษาตามอัธยาศัย คือการกระตุ้นผู้ชมให้เกิดความต้องการที่จะเรียนรู้ต่อๆ ไปอีก

          5. การศึกษาตามอัธยาศัยควรมีจุดมุ่งหมายที่จะนำเสนอเรื่องราวที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง มากกว่าจะเสนอเป็นส่วน ๆ และต้องให้ความหมายที่สำคัญเกี่ยวกับเรื่องราวนั้น
          6. การศึกษาตามอัธยาศัยสำหรับเด็กๆ ต้องอยู่บนหลักการดังกล่าวแล้ว และต้องออกแบบโดยคำนึงถึงความสามารถและรูปแบบในการเรียนรู้ โดยนึกถึงความสนใจของเด็กด้วย


ที่มา 

ความคิดเห็น